Pages

Monday, November 19, 2012

พุทธฤทธิ์ พิชิตภัย

                                 ขันธปริตร (พิชิตภัยจากสัตว์ร้าย)
             ขันธปริตร แปลว่า มนต์ป้องกันตัว เป็นคาถาที่พระพุทธเจ้าประทานแก่ภิกษุ
     ไว้สวดป้องกันตัวจากงู หรือสัตว์มีพิษ มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูพิษกัดตาย
      พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุนั้นถูกงูกัด เพราะไม่ได้
      แผ่เมตตาจิตให้แก่พญางู 4 ตระกูล แล้วตรัสสอนให้ภิกษุสวดขันธปริตร เพื่อแผ่เมตตา
      จิตให้แก่พญางู ๔ ตระกูลและสัตว์มีพิษทั้งหลาย                                 

                                              ขันธปริตร
                     รูปักเขหิ  เม  เมตตัง            เมตตัง   เอราปะเถหิ  เม
                    ฉัพยา ปุตเตหิ เม เมตตัง        เมตตัง  กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
                    อะปาทะเกหิ  เม  เมตตัง        เมตตัง  ทิปาทะเกหิ  เม
                    จะตุปปะเทหิ  เม  เมตตัง        เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
                    มา มัง อะปาทะโก หิงสิ         มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
                    มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ         มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
                    สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา      สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
                    สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ           มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
                    อัปปะมาโณ พุทโธ
                    อัปปะมาโณ ธัมโม
                    อัปปะมาโณ สังโฆ
                    ปะมาณะวันตานิ  สิริงสะปานิ
                    อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที
                    อุณณะนาภี สะระพู มูสิกา
                    กะตา เม รักขา
                    กะตา เม ปริตตา
                    ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
                    โสหัง นะโม ภะคะวะโต
                    นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง

                          -----------------------------------------------------
                                           วัฏฏกปริตร พิชิตภัยธรรมชาติ
                 เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์ถือกำเหนิดเป็นลูกนกคุ้มนอนอยู่ในรัง วันหนึ่ง
      พ่อแม่ ออกไปหาอาหาร เกิดไฟป่าลุกลามเข้ามาเกือบจะถึงรัง ลูกนกคุ้ม
      มองไม่เห็นที่พึ่งอย่างอื่น จึงทำสัจจาธิษฐานว่า "ศีล สัจจะ ความหมดจด
      ความเอ็นดู เป็นธรรมที่มีคุณจริง ข้าพเจ้าขอน้อมเอาอานุภาพแห่งธรรม
      อานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปีกและขาก็มีอยู่ แต่ยังบินและเดินไม่ได้
      พ่อแม่ก็ไม่อยู่ ด้วยอานุภาพแห่งคำสัตย์ทั้งหมดนี้ ขอให้เปลวเพลิงจงหลีกไป"
      เมื่อทำสัจจาธิษฐานจบ เปลวไฟได้เปลี่ยนทิศทางไปที่อื่นห่างออกไป 16 กรีส

                                               วัฏฏกปริตร
                     อิตถิ  โลเก  สีละคุโณ              สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
                     เตนะ  สัจเจนะ  กาหามิ             สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
                     อาวัชชิตวา  ธัมมะพะลัง            สะริตวา ปุพพะเก ชิเน
                     สัจจะพะละมะวัสสายะ               สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
                     สันติ ปักขา อะปัตตะนา             สันติ ปาทา อะวัญจะนา
                     มาตา ปิตา จะ นิกขันตา             ชาตะเวทะ ปะฏิกกะมะ
                     สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง             มะหาปัชชะลิโต สิขี
                    วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ             อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี
                     สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ               เอสา เม สัจจะปาระมีติ ฯ
                                  
                        -----------------------------------------------------
                                    โมรปริตร พิชิตภัยจากผู้ไม่ประสงค์ดี

              โมรปริตร เป็นคาถาป้องกันภัยของ นกยูงทองโพธิสัตว์ ทุกเช้าก่อนออก
      หากิน นกยูงทองจะกล่าวคำแสดงความเคารพต่อพระอาทิตย์ที่กำลังขึ้นสู่ท้องฟ้า
      และพระพุทธเจ้าในอดีตทุกพระองค์ ให้มาปกปักรักษาให้ปลอดภัยตลอดวัน
      และทุกเย็นก่อนจะกลับเข้ารัง ก็กล่าวคำแสดงความเคารพต่อพระอาทิตย์ที่
      กำลังอัสดง และพระพุทธเจ้าในอดีตทุกพระองค์ให้มาปกปักรักษาให้ปลอดภัย
      ตลอดคืน ด้วยการกล่าวพระปริตรนี้เป็นประจำทำให้นกยูงทองรอดพ้นจาการ
      ถูกนายพรานดักจับ เป็นเวลานานถึง 12 ปี

                                             
โมรปริตร  
                                 อุเทตะยัญจักขุมา    เอกราชา
                                 หะริสสะวัณโณ     ปะฐะวิปปะภาโส
                         ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
                                ตะยัชชะ คุตตา  วิหะเรมุ ทิวะสัง
                                เย พรัห์มะณา    เวทะคุ สัพพะธัมเม
                               เต เม นะโม เต  จะ มัง ปาละยันตุ
                               นะมัตถุ พุทธานัง  มะมัตถุ โพธิยา
                               นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
                        อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา
                                อะเปตะยัญจักขุมา   เอกราชา
                                หะริสสะวัณโณ   ปะฐะวิปปะภาโส
                   ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
                                 ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
                               เย พรัห์มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
                               เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
                               นะมัตถุ พุทธานัง มะมัตถุ โพธิยา
                              นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
                    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ
                                      
                    -----------------------------------------------------
                                       ธชัคคปริตร พิชิตความหวาดกลัว
                    ธชัคคปริตรนี้ เป็นพระพุทธมนต์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เหล่า 
            ภิกษุสวดเพื่อระงับความหวาดกลัวในเวลาที่ไปเจริญสมณธรรมบำเพ็ญเพียร
            ตามป่าเขาโดยใจความก็คือ สอนให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเพื่อให้เกิดความ
            รู้สึกอุ่นใจว่าไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ได้อยู่กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
            เหมือนกับพระอินทร์ที่ออกรบกับพวกอสูร ได้สั่งให้เหล่าเทพนักรบมองดูยอดธง
            ที่รถศึกของพระองค์หรือของเทพที่เป็นแม่ทัพ แล้วจะทำให้หายหวาดกลัว
            และเกิดกำลังใจ เพราะได้รู้ว่าแม่ทัพของตนยังรบอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่
            ไม่หนีหายไปไหน ฉะนั้น



                                              ธชัคคปริตร
                อะรัญเญ  รุกขะมูเล  วา                 สุญญาคาเร  วะ  ภิกขะโว
                อะนุสสะเรถะ  สัมพุทธัง                 ภะยัง  ตุมหากะ  โน  สิยา
                โน  เจ  พุทธัง  สะเรยยาถะ            โลกะเชฏฐัง  นะราสะภัง
                อะถะ   ธัมมัง  สะเรยยาถะ             นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
                โน  เจ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ             นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
                อะถะ  สังฆัง  สะเรยยาถะ             ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
                เอวัมพุทธัง  สะรันตานังธัมมัง  สังฆัญจะ  ภิกขะโว
                 ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วาโลมะหังโส  นะ  เหสสะตีติ 
 
                    -----------------------------------------------------
                                        อภยปริตร พิชิตลางร้าย
                 อภยปริตร นิยมเรียกว่า “คาถายันทุน”ยังไม่ได้พบหลักฐานที่มาแน่นอน
         สันนิษฐานว่าเป็นคาถาที่ท่านโบราณาจารย์ชาวเชียงใหม่ประพันธ์ขึ้นในสมัย
         เดียวกันกับที่รถจนาพระคาถาชินบัญชร โดยสังเกตได้จากการตั้งจิตอธิษฐาน
         ให้บาปเคราะห์ นิมิตร้าย และสิ่งที่เป็นอัปมงคลพินาศไปด้วยอานุภาพของ
         พระรัตนตรัยและอ้างเอาคุณพระรัตนตรัยมาช่วยพิทักษ์คุ้มครองเมื่อมีลางร้าย
         ฝันไม่ดี ดวงชะตาตกต่ำ หรือเกิดสิ่งที่ไม่เป็นมงคลขึ้น

                                 อภยปริตร
                             ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ 
                           โย จามะนาโป   สะกุณัสสะ สัทโท 
                           ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง อะกันตัง
                           พุทธานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ 
                           ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมัง คะลัญจะ 
                           โย จามะนาโป  สะกุณัสสะ สัทโท 
                           ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง อะกันตัง 
                           ธัมมานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ 
                           ยันทุนนิมิตตัง  อะวะมังคะลัญจะ
                           โย จามะนาโป  สะกุณัสสะสัทโท 
                           ปาปัคคะโห  ทุสสุปินัง อะกันตัง 
                           สังฆานุภาเวนะ  วินาสะเมนตุ ฯ


         -----------------------------------------------------
                       อาฏานาฏิยปริตร พิชิตภัย จากอมนุษย์อันธพาล
            อาฏานาฏิยปริตร เป็นคาถาที่ท้าวเวสสุวัณ เทพผู้ปกครองยักษ์
      และอมนุษย์ทั้งหลาย ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระพุทธเจ้า เพื่อให้
      พุทธบริษัททั้งหลายใช้สวดป้องกันเหล่าอมนุษย์ เช่น ยักษ์ ภูตผี
      ปีศาจ ที่ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัยไม่ให้เข้ามาทำร้าย และให้เกิด
      ความสุขสวัสดีแก่ตน และคนที่รัก ปัจจุบันนิยมสวดเพื่อขับไล่
      เสนียดจัญไร สิ่งอัปมงคล และอำนาจคุณไสย โดยจะจัดเป็น
      พิธีกรรมกันใหญ่โตเรียกว่า สวดภาณยักษ์
                                 อาฏานาฏิยปริตร
                     วิปัสสิสสะ นะมัตถุ             จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
                     สิขิสสะปิ นะมัตถุ               สัพพะภูตานุกัมปิโน

                     เวสสะภุสสะ นะมัตถุ          นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
                     นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ          มาระเสนัปปะมัททิโน

                     โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ     พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
                     กัสสะปัสสะ นะมัตถุ             วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

                     อังคีระสัสสะ นะมัตถุ            สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
                     โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ         สัพพะทุกขาปะนูทะนัง

                     เย จาปิ นิพพุตา โลเก            ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
                     เต ชะนา อะปิสุณา                มะหันตา วีตะสาระทา

                     หิตัง เทวะมะนุสสานัง            ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
                     วิชชาจะระณะสัมปันนัง         มะหันตา วีตะสาระทัง

               -----------------------------------------------------
                                    อังคุลิมาลปริตร พิชัติภัยเฉพาะหน้า
                        อังคุลิมาลปริตร คือคาถาของพระองคุลิมาล อดีตจอมโจร
               999 ศพ หลังจากบวชแล้ว วันหนึ่งขณะกำลังเดินบิณฑบาต
               ได้พบหญิงท้องแก่คนหนึ่งเกิดเจ็บท้องใกล้คลอด แต่ไม่สามารถ   
               คลอดลูกได้ง่าย ทำให้ได้รับความเจ็บปวดและทรมาณเป็นอย่างมาก
               ท่านเกิดความสงสารจึงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ตั้งแต่เราบวชเข้ามาใน
               ศาสนาของพระพุทธเจ้าแล้วไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย ด้วยการกล่าว
              คำสัตย์นี้ขอให้หญิงนี้จงคลอดบุตรโดยง่ายเถิด” เมื่อจบสัจจาธิษฐาน
              หญิงนั้นก็คลอดบุตรโดยสะดวก ได้รับความปลอดภัยทั้งแม่และลูก
                                      อังคุลิมาลปริตร
                         ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
                             นาภิชานามิ
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา
                             เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต
  โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ   


                             (3 จบ)
                 -----------------------------------------------------
                                        คาถาโพธิบาท ป้องกันสรรภัย
                     คาถาโพธิบาท เป็นคาถาป้องกันภัยโดยการสวดระลึก
            ถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ สวดทุกเช้าเย็นป้องกัน
           อันตรายจากภัยพิบัติต่างๆ อันจะมาจากทิศทั้งหลาย และสามารถ
           สะเดาะเคราะห์เดาะโศกโรคภัยต่างๆ ทำให้มีความสุขกายสุขใจ
           มีโชคมีลาถ พระสงฆ์ที่ออกเดินธุดงค์ตามป่าเขานิยมสวดคาถานี้เพื่อ
           ป้องกันภยันตรายที่เกิดจากสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจและอำนาจเร้นลับต่างๆ
                                           คาถาโพธิบาท
                   ๑. บูระพารัส์มิง พระพุทธะคุณัง บูระพารัส์มิง พระธัมเมตัง
          บูระพารัส์มิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์
          สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญ-
         
ชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
          หมายเหตุ
: เที่ยวต่อไปให้สวดเหมือนข้อหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะคำ
          ที่เน้นสีแดง
          ๒.  อาคเนย์รัสมิง
          ๓.  ทักษิณรัสมิง
          ๔.  หรดีรัสมิง
          ๕.  ปัจฉิมรัสมิง
          ๖.  พายัพรัสมิง
          ๗.  อุดรรัสมิง
          ๘.  อีสานรัสมิง
          ๙.  อากาศรัสมิง
        ๑๐.  ปฐวีรัสมิง
 



                               -----------------------------------------------------
                               คาถามงคลจักรวาล ป้องกันภัย 108 ประการ

                      คาถามงคลจักรวาลนี้ เป็นคาถาที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ใช้ท่องภาวนา
                เวลาออกธุดงค์ ผู้ที่สวดคาถานี้อยู่เป็นประจำ จะช่วยป้องกันอันตราย
                จากสัตว์ร้ายและภูตผีปีศาจทั้งหลายได้ ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัย
                เบียดเบียน รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
                ทำให้มีโชคลาภ และเจริญรุ่งเรือง

                                 คาถามงคลจักรวาล (กำแพงมนต์)
                  
อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น
            มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว
 
อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา
            สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ
พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ 
            หมายเหตุ : เที่ยวต่อไปให้สวดเหมือนข้อหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะคำที่เน้นสีแดง
            ๒.
  ธัมมะชาละปะริกเขตเต
           
๓.  ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต
            ๔. 
สังฆะชาละปะริกเขตเต






 


 



                                
            

No comments:

Post a Comment